5 วิธีแก้ ลูกไม่ชอบออกกำลังกาย ไม่ชอบเล่นกีฬา ติดหน้าจอ จะทำอย่างไรดี

5 วิธีแก้ ลูกไม่ชอบออกกำลังกาย ไม่ชอบเล่นกีฬา ติดหน้าจอ จะทำอย่างไรดี

พ่อแม่หลายคนกังวลเรื่องลูกไม่ชอบออกกำลังกาย ลูกไม่ชอบเล่นกีฬา ชอบอยู่ในห้องเย็น ๆ ไม่เล่นกีฬาที่ทำให้เหงื่อออก บางคนกลัวลูกติดหน้าจอติดโทรศัพท์มือถือหรือของเล่น ซึ่งอาจส่งผลเสียในด้านต่าง ๆ ให้กับชีวิตลูก เช่น การแบ่งเวลา การทำกิจกรรม หรือติดหน้าจอโทรศัพท์เป็นสมาธิสั้น แต่พ่อแม่หลายท่านก็พบปัญหาในการส่งเสริมให้ลูกเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ในวันนี้ ทีมงาน WeddingReview.net จึงได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาลูกไม่ชอบออกกำลังกาย ไม่ชอบเล่นกีฬา หรือกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาฝากทุกท่าน มาดูวิธีแก้ปัญหาจากประสบการณ์ของเรากันได้เลยค่ะ

ติดตามเราได้ที่ Facebook WeddingReview.net

บทความ: ครอบครัว

1. เลือกกีฬาหรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและความชอบของลูก

ในการช่วยสนับสนุนให้ลูกได้ลองเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมเพิ่มความแอคทีฟ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยนำเสนอกีฬาหรือกิจกรรมให้กับลูกโดยพิจารณาจากหัวข้อดังนี้ค่ะ

  • วามยาก ความง่าย และความเหมาะสมต่อวัยของลูก
  • บุคลิกภาพ นิสัย และความชอบของลูก
  • ความสะดวกหากต้องเดินทาง
  • ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเล่น
  • ค่าใช้จ่ายตามที่ครอบครัวสะดวก
  • เลือกเวลาที่เหมาะสม เช่น เล่นเทนนิสในเวลาช่วงเช้าตรู่หรือช่วงเย็น เพื่อไม่ต้องเจอแดดร้อน

2. พ่อแม่ควรลองเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมกับลูกด้วย

ไม่ว่าคุณจะมีลูกคนเดียวหรือมีลูกหลายคน หรืออายุมากหรือน้อย เคล็ดลับในการช่วยส่งเสริมให้ลูกกล้าลองเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมก็คือพ่อแม่ควรลองทำไปพร้อม ๆ กับลูกด้วยโดยมีข้อดี คือ ลูกจะรู้สึกสบายใจและกล้าเปิดใจกับการลองทำสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้นเพราะมีพ่อและแม่ลองทำด้วย นอกจากนี้ กีฬาบางอย่าง เช่น เทนนิส หรือ กอล์ฟ เป็นกีฬาที่ต้องใช้ทักษะและการเคลื่อนไหวร่างกาย หากพ่อแม่ไม่ลองเล่นดูด้วยตัวเองก็อาจจะไม่ทราบว่ามันไม่ได้ง่ายสำหรับทุกคน และการที่พ่อแม่ลองเล่นกับลูกด้วยนั้นก็จะช่วยให้ได้ใช้เวลาสนุก ๆ ร่วมกัน รวมทั้งเข้าอกเข้าใจกัน ฝึกเป็นทักษะใหม่ที่ทำให้พ่อแม่ลูกได้ใช้เวลาเพลิดเพลินร่วมกัน เมื่อลองเล่นหลาย ๆ รอบเข้า จากที่ไม่ชอบก็อาจจะเปลี่ยนเป็นชอบและกลายเป็นกีฬาโปรดของครอบครัวได้ไม่ยาก

3. ทำให้เป็นกิจกรรมยามว่างของครอบครัว

ไม่มีใครชอบการกดดัน จริงไหมคะ? คุณพ่อคุณแม่จึงอาจเปลี่ยนจากการบังคับให้ลูกไปออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม เปลี่ยนให้เป็นกิจกรรมยามว่างของครอบครัว’ (Leisure)โดยเมื่อถึงเวลาว่างหรือวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ก็จัดเวลาออกไปทำกิจกรรมกันโดยทำให้เป็นประเพณีของครอบครัวด้วยการใช้คำว่ากิจกรรมยามว่าง (ของครอบครัว)’ อธิบายให้ลูกฟังว่ากิจกรรมของครอบครัวคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร สร้างความเข้าใจให้กับลูกว่า ถึงเวลาทำอย่างอื่นแล้วนะ เราจะดูทีวีหรือเล่นแต่หน้าจอ เล่นเกม ดูโทรศัพท์ทั้งวันไม่ได้ ช่วงเวลานี้ เราจึงจะไปทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกิจกรรมของครอบครัวกันแทนค่ะ

4. ทำเป็น Routine

คล้ายกับตารางเรียนหรือตารางสอนที่โรงเรียน พ่อแม่สามารถร่วมมือกันกับลูก ๆ ช่วยกันทำตาราง Routine หรือ Checklist ที่ต้องทำเมื่ออยู่ที่บ้าน โดยกำหนดเวลาให้ชัดเจนว่าเวลาใดเป็นเวลาออกกำลังกาย และเวลาใดเป็นเวลารับผิดชอบงานส่วนตัวหรือเป็นเวลา Free Choice เช่น

  • กำหนดเวลาทานข้าวเช้าและมื้อต่าง ๆ
  • กำหนด Checklist สิ่งที่ต้องทำหลังจากตื่นนอน เช่น พับผ้า เก็บที่นอน อาบน้ำ แปรงฟัน
  • จัดการเสื้อผ้า เช่น ปลิ้นถุงเท้าออกก่อนส่งซัก
  • เวลาออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรม
  • เวลาทำความสะอาดบ้านหรือหน้าที่อื่น ๆ
  • ระบุเวลา Free Choice สามารถทำอะไรก็ได้ เช่น เล่นมือถือหรือดูทีวี เป็นต้น
  • เวลาเตรียมของก่อนไปโรงเรียน
  • เวลาทำการบ้านหรืออ่านหนังสือ
  • เวลานอน

โดยมีกฏที่จะช่วยฝึกวินัยให้กับลูก คือ

  • จะไม่ทำอย่างอื่นหากยังทำสิ่งที่ควรทำก่อนหน้านั้นยังไม่เสร็จ เช่น ไม่เล่นเกม หากยังไม่อาบน้ำ หรือ ไม่เก็บที่นอน เป็นต้น
  • ระบุเวลารับประทานอาหารแต่ละมื้อให้ชัดเจน และมี Choice ให้เลือกเมนูหรือบอกเมนูอาหารล่วงหน้า (แก้ปัญหาลูกเลือกกิน) ซึ่งถ้าหากเกินเวลาก็จะต้องทนหิว ไม่มีใครมาทำอาหารหรือบริการให้หลังจากนั้น
  • อธิบายกติกาก่อนทุกครั้ง เช่น ก่อนขึ้นรถออกเดินทาง จะอธิบายว่าต้องรัดเข็มขัดนิรภัย และหากลูกทำเสียงดังรบกวนตอนขับรถ ก็จะหยุดรถข้างทางและนั่งรอจนกว่าทุกคนจะเงียบ
  • เตรียมอุปกรณ์ด้วยตัวเองก่อนออกไปเล่นกีฬาหรือกิจกรรม เช่น เตรียมถุงเท้า ใส่ถุงเท้าเอง, เตรียมขวดน้ำเอง โดยอาจมีพ่อแม่ยืนดูเป็นกำลังใจอยู่ข้าง ๆ แต่ไม่ทำแทนลูก

5. กระตุ้นให้ลองแต่ไม่บังคับ และคิดถึงใจเขาใจเรา

ในช่วงที่เริ่มพาลูกติดหน้าจอหรือไม่ชอบออกกำลังกายไปเล่นกีฬาในช่วงแรก ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเจอเสียงบ่น เสียงไม่อยากไป เสียงอยากกลับบ้าน เสียงบ่นว่าเบื่อหรือไม่ชอบ จึงอาจเป็นช่วงเวลาที่จะได้ช่วยลูกอธิบายว่า เรามาทำกิจกรรมครอบครัวกันนะ มาลองสิ่งใหม่ ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็มาลองเหมือนกัน เรามาลองเล่นด้วยกัน วันหนึ่งเราอาจจะชอบมากจนอยากเล่นทุกวันก็ได้ซึ่งในระหว่างที่เล่นกีฬาด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้เผชิญสิ่งต่าง ๆ เหมือนที่ลูกกำลังเผชิญ จะได้คอยให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนเทคนิคและความคิดเห็นกัน ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะสามารถช่วยให้ลูกค้นพบกีฬาที่ชอบได้ค่ะ

นอกจากนี้ หากเป็นกีฬาที่ต้องใช้ครูสอน อาจเลือกการสอนแบบไม่เคร่งเครียดในช่วงเริ่มต้น โดยเลือกครูที่สามารถสอนเป็นเกมสนุก ๆ และมีทักษะในการสื่อสารและเข้าอกเข้าใจเด็กได้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ลูกเข็ดขยาดกีฬาชนิดนั้น ๆ

การลองเล่นกีฬาและกิจกรรมนี้ อาจจะมีบางช่วงที่เหนื่อยหรือเบื่อ หากดูแล้วว่าเหนื่อยจริง ๆ อาจจะทำให้ป่วยได้ หรือหากไปเที่ยวที่อื่นกันมาจนออกกำลังกายไม่ไหว ก็อาจจะให้ลูกหยุดพักผ่อนก่อนและเมื่อพักผ่อนหายดีแล้วก็ค่อยกลับมาเริ่มกันใหม่ค่ะ

5 วิธีแก้ ลูกไม่ชอบออกกำลังกาย ไม่ชอบเล่นกีฬา ติดหน้าจอ จะทำอย่างไรดีรายชื่อ กีฬาหรือกิจกรรมสำหรับเด็ก

  • ไอซ์สเก็ต
  • ฮอกกี้
  • ว่ายน้ำ
  • ยิมนาสติก
  • บาสเก็ตบอล หรือกีฬาแบบเล่นในยิมติดแอร์
  • เทนนิส
  • แบดมินตัน
  • ปีนหน้าผา
  • บัลเล่ต์
  • เรียนเต้น
  • กอล์ฟ
  • ฟุตบอล
  • กีฬา X-Treme
  • เดินป่า หรือ สำรวจธรรมชาติ
  • ทำอาหาร
  • โค้ดดิ้ง
  • ประดิษฐ์ของใช้
  • ออกแบบเครื่องประดับ
  • เทควันโด
  • คาราเต้
  • วาดภาพ
  • จัดตู้เทอราเรียม
  • ขี่ม้า
  • วอลเล่บอล
  • อเมริกันฟุตบอล หรือ รักบี้
  • ปั่นจักรยาน

ติดตามเราได้ที่ Facebook WeddingReview.net

บทความ: ครอบครัว

Report

What do you think?

0 Points
Upvote
16 วิธีสร้างความสุขด้วยตัวเอง ด้วยการฝึกนิสัยใหม่

16 วิธีสร้างความสุขด้วยตัวเอง ด้วยการฝึกนิสัยใหม่

ส่อง…ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ อัปเดท ปี 2022 - 2023

ส่อง…ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ อัปเดท ปี 2022 – 2023