พิธีแต่งงานฮินดู การแต่งงานของคนอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดู

พิธีแต่งงานฮินดู การแต่งงานของคนอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดู

พิธีแต่งงานฮินดู คือ การแต่งงานของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู ซึ่งด้วยความที่เป็นพิธีแต่งงานทางศาสนา เพราะฉะนั้นขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะเชื่อมโยงกับความเชื่อและประเพณีทางศาสนา พิธีแต่งงานของชาวฮินดูมีความน่าตื่นตาตื่นใจเพราะถือว่าเป็นงานใหญ่พอสมควร โดยจะเน้นจัดงานกันในช่วงฤดูหนาวประมาณต้นเดือนตุลาคมไปจนถึงปลายเดือนมีนาคมที่ถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดีที่สุดของการแต่งงาน พิธีแต่งงานของฮินดูนั้นถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะตามคติของพราหมณ์แล้ว การแต่งงานเป็นขั้นที่ 2 ของชีวิตต่อจากชีวิตเยาว์วัย เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการครองคู่และทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงมากขึ้น การแต่งงาน ฮินดูจึงต้องมีความพิถีพิถันและรายละเอียดก็ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว มาดูรายละเอียดพิธีแต่งงานฮินดูที่ WeddingReview กันได้เลยค่ะ

พิธีแต่งงานฮินดู การแต่งงานของคนอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดูการแต่งงานของอินเดีย พิธีแต่งงานฮินดู

การแต่งงานของชาวฮินดูนั้นถ้าถือตามตัวบทกฎหมายของอินเดีย จะสามารถแต่งงานข้ามวรรณะกันได้และแต่งงานกับคนในศาสนาอื่นได้ตามปกติ แต่สำหรับในสังคมแล้วเรื่องการแต่งข้ามวรรณะก็ยังมีผลอยู่มาก สำหรับยุคนี้การแต่งงานแบบชาวฮินดูจะมีการผสมผสานความทันสมัยขึ้นมาเล็กน้อย และถ้าแต่งกับชาวต่างชาติ ต่างภาษา ก็อาจจะต้องเพิ่มพิธีแต่งงานของชาตินั้น ๆ เข้าไป

  • โดยเริ่มต้นจากการที่พ่อแม่หรือญาติพี่น้องทั้ง 2 ฝ่ายมาพบปะพูดคุยและหารือกันตามวัฒนธรรม
  • จากนั้นจะต้องเข้าทำพิธีหลัก 3 พิธี การแจกการ์ดงานแต่งงาน ฮินดู จะมีความแปลกจากไทยที่การ์ดนั้นจะมาเป็นกล่อง ด้านในจะมีการ์ดของ 3 งาน และมีขนมหวานอยู่ภายในกล่องด้วย ถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่งานแต่งของชาวฮินดูทุกงานต้องมี ขั้นตอนสำคัญของการแต่งงาน ฮินดูที่น่าสนใจ คือ

พิธีแต่งงานฮินดู การแต่งงานของคนอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดู

พิธีแต่งงานฮินดู (ก่อนวันแต่งจริง)

  1. ขั้นตอนแรก : พิธีแต่งงานฮินดูวันแรกจะเป็นพิธีทางศาสนาที่จะเป็นพราหมณ์กล่าวบทสวดบูชาเทพเจ้าพร้อมเล่าขานตำนานองค์เทพของศาสนาฮินดู ซึ่งในเรื่องราวที่เล่าจะเป็นคติสอนใจบ่าวสาวซ่อนอยู่ในเรื่องเล่าทั้งหมด แต่พิธีนี้จะมีการจัดงานแยกกันระหว่างบ้านของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว
  2. ขั้นตอนที่ 2 : พิธีที่ 2 คือ ฝ่ายเจ้าสาวนำขนมหวานมาให้กับทางฝ่ายเจ้าบ่าว พิธีตรงนี้ในยุคปัจจุบันมีการผสมผสานการแลกแหวนตามสไตล์ของฝั่งตะวันตกเข้าไปด้วย พิธีนี้จึงเปรียบเสมือนการหมั้นกัน เมื่อมีการมอบขนมและแลกแหวนเรียบร้อยแล้ว พ่อหรือพี่ชายของทางฝ่ายเจ้าสาวจะมีการแต้มฝุ่นผงสีแดงให้กับหน้าผากของเจ้าบ่าว เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าผู้ชายคนนี้กำลังจะเข้าสู่การแต่งงานแล้วนั่นเอง
  3. ขั้นตอนที่ 3 : เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องอยู่บ้านเพื่อให้ญาตินำสมุนไพรและของประทินผิวต่าง ๆ เช่น ผงไม้จันทร์, ขมิ้น และสมุนไพรนานาชนิดมาขัดและบำรุงผิว เพื่อให้ผิวพรรณในวันงานแต่งมีความผุดผ่องและสว่างไสว

ในคืนเดียวกันกับการทำขั้นตอนที่ 3 จะเริ่มมีการจัดงานสังคีตที่ญาติทุกคนจะออกมาร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานที่บ้านของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ซึ่งงานนี้ก็จะจัดแบบแยกบ้านกันเหมือนเดิม งานนี้จะมีความคล้ายคลึงกับปาร์ตี้สละโสดแต่จะถูกจัดขึ้นที่บ้านเท่านั้น ผู้ที่ถูกเชิญมางานจึงมีเพียงแค่ญาติและเพื่อนสนิท ทางด้านเจ้าสาวจะมีขั้นตอนพิเศษกว่าเจ้าบ่าวตรงที่ต้องผ่านการเขียนลวดลายสวยงามด้วยเฮนน่าที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างเพิ่มเติม ขั้นตอนนี้เรียกว่า Mehandi

พิธีแต่งงานฮินดู การแต่งงานของคนอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดู

พิธีแต่งงานฮินดู ในวันแต่งงานจริง

จะมีการให้สินสอดกันในวันนี้

เมื่อถึงวันงานแต่งจริงจะเริ่มต้นงานแต่งตามฤกษ์ที่ทางผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ครอบครัวได้เลือกไว้

  1. เริ่มต้นงานด้วยการสวดมนต์บูชาเทพเจ้าของเหล่าพราหมณ์ในพิธี พร้อมผูกสายสิญจน์ให้กับทางเจ้าบ่าว พิธีนี้เจ้าสาวจะนั่งรออยู่ในพิธีส่วนเจ้าบ่าวจะขี่ม้าเข้ามาในพิธี ส่วนบรรดาญาติพี่น้องจะเต้นรำไปกับเสียงเพลงตามหลังม้าของเจ้าบ่าวมาเป็นขบวน
  2. เมื่อถึงหน้างานแต่งบรรดาญาติและเพื่อนของเจ้าสาวก็จะหาที่กั้นมาเป็นประตูเพื่อให้เจ้าบ่าวให้ของขวัญ, เครื่องประดับ หรือเงินเป็นการเปิดทาง จากนั้นก็จะเริ่มมีการแลกมาลัยคล้องคอกันระหว่างบ่าวสาว พิธีนี้เรียกว่า Jayamaala
  3. จากนั้นผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่ายก็จะเข้ามาทักทายกันแล้วให้ญาติที่เป็นอาวุโสที่สุดของทั้ง 2 ฝ่ายมาแลกพวงมาลัยกับของขวัญกันอีกครั้งเพื่อเป็นการบอกว่าทั้ง 2 ครอบครัวได้เป็นทองแผ่นเดียวกันเรียบร้อยแล้ว
  4. ต่อจากการแลกมาลัยกันแล้วก็จะเป็น พิธี Gau Daan หรือที่เรารู้จักกันในขั้นตอนให้สินสอด ซึ่งพิธีแต่งงานฮินดูนั้นเจ้าสาวต้องนำของขวัญและสินสอดมามอบให้กับทางบ้านเจ้าบ่าว
  5. เมื่อมอบให้กันเรียบร้อยแล้วแม่เจ้าบ่าวก็จะมีการยกสายสร้อยส่วนตัวหรือของตระกูลให้กับทางเจ้าสาว เพื่อเป็นการบ่งบอกว่ารับผู้หญิงคนนี้มาเป็นสะใภ้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนนี้ถูกเรียกว่า Mangala Sootra
  6. เมื่อจบขั้นตอนนี้ก็จะเป็นพิธีสำคัญที่พราหมณ์จะก่อกองไฟขึ้นมาแล้วสวดเพื่อบูชาไฟแล้วให้พรที่มาพร้อมกับการสั่งสอนเรื่องการครองคู่ที่ถูกต้อง
  7. จากนั้นเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะจูงมือกันเพื่อเดินรอบกองไฟประมาณ 7 รอบ และกล่าวคำสัญญาที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันไปด้วย
  8. จบพิธีด้วยการให้พรจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย
  9. แต่จะเสร็จสิ้นพิธีแต่งงานฮินดูจริง ๆ คือ การที่เจ้าสาวต้องบอกลากับครอบครัวตัวเอง โดยในพิธีนี้จะมีการสวดจากพราหมณ์อีกครั้ง ทางพ่อเจ้าสาวก็จับมือเจ้าสาวยื่นให้กับเจ้าบ่าว เป็นการบ่งบอกว่ายกลูกสาวให้แล้วและต้องดูแลให้ดีที่สุด

พิธีแต่งงานฮินดู การแต่งงานของคนอินเดีย ที่นับถือศาสนาฮินดูเมื่อจบพิธีทั้งหมดแล้วทั้งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะก้าวขาออกจากพิธีแล้วหันหลังเพื่อโปรยข้าวสารและดอกไม้เข้าไปในบ้าน เพื่อเป็นการสร้างความเป็นมงคลให้กับที่อยู่อาศัย ให้เกิดแต่ความสุขสมหวัง อยู่ดีกินดีไปตลอด ไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น

เท่านี้ก็เป็นอันจบพิธีแต่งงานฮินดู แต่ในบางงานอาจจะมีขั้นตอนที่แตกต่างออกไปจากนี้หรือมีมากกว่านี้ เพราะในแต่ละท้องที่ก็จะมีพิธีที่แตกต่างกันออกไปและบางที่ก็จัดเพื่อให้เหมาะสมกับฐานะอีกด้วย WeddingReview หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์ดีดีจากบทความนี้นะคะ

บทความโดย: คู่มือจัดงานแต่งงาน by OPONG | WeddingReview

บทความที่คุณอาจสนใจ

Report

What do you think?

1 Point
Upvote
20 สถานที่จัดงานแต่งงาน ปี 2020 เพื่องานดูดี สำหรับคู่รักมีสไตล์

20 สถานที่จัดงานแต่งงาน ปี 2020 เพื่องานดูดี สำหรับคู่รักมีสไตล์

รวมแบบ การ์ดแต่งงาน สีสวย กว่า 60+ แบบ

60 การ์ดแต่งงาน เก๋ ๆ เรียบหรู กว่า 60+ แบบ