สมมติว่ามีรายชื่อช่างภาพงานแต่ง 4-5 คน (หรือมากกว่านั้น) ที่คัดมาแล้วว่าถูกใจ ขั้นตอนต่อไปเราทำอะไรต่อ?
โอมีวิธีที่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ลดความยุ่งยากในการติดต่อช่างภาพงานแต่ง วิธีนี้จะช่วยกันลืม ทำให้บ่าวสาวเก็บข้อมูลสำคัญเพื่อนำไปเปรียบเทียบและตัดสินใจในการเลือกช่างภาพงานแต่ง และอื่นๆ เขียนโดย OPONG เว็บไซต์ WeddingReview.net เช่นเคยค่ะ ^^
เป็นมั้ยคะ? พอจะได้แต่งงานจริงๆ จะได้ถ่าย Pre-Wedding แทนที่จะรู้สึกโล่งอก แต่แอบมีความรู้สึกหนักอกนิดๆ เหมือนมีภาระหนักอึ้ง ตากล้องก็ต้องหา ร้านดอกไม้ก็ต้องหานู่นนี่นั่นก็ต้องหา นู่นนี่นั่นอีก แล้วจะเริ่มยังไงดี ทำไมปวดหัว ทำไมรู้สึกล้นอก งานก็เยอะ ตอนที่เตรียมตัวแต่งงานโอแอบรู้สึกแบบนี้นิดๆ อยากให้ทุกอย่างจบเร็วๆจัง ..
โอขอเอาประสบการณ์ที่เจอมา มาช่วยเพื่อนๆว่าที่เจ้าสาวแล้วกันค่ะ… #STRONG
Facebook: คู่มือจัดงานแต่งงาน by OPONG
ตัวอย่างโน้ตที่โอทำไว้
โน้ตนี้เขียนมาใหม่ เพื่อเอามาลงให้ว่าที่บ่าวสาวที่ติดตาม คู่มือจัดงานแต่งงาน by OPONG ดูโดยเฉพาะ ^^”
อาจจะไม่ละเอียดเท่าของจริงที่เคยทำไว้ตอนจะแต่งงาน แต่เอามาเป็น GUIDELINE คร่าวๆให้เป็นตัวอย่างค่ะ ^^
หวังว่าจะช่วยได้บ้างนะคะ
Facebook: คู่มือจัดงานแต่งงาน by OPONG
หมายเหตุ: วิธีนี้ใช้ได้กับทุกอย่างเลยค่ะ เช่น หาร้านจัดดอกไม้งานแต่ง , ร้านทำการ์ด เป็นต้น
โอใช้วิธีเดียวกันหมด
[shortcode-variables slug=”ad336″]
1. เตรียมสมุดจด
หาสมุดเล่มเล็กๆ บางๆ ที่ไม่หนาและไม่หนักจนเกินไป จะได้พกใส่กระเป๋าสะพายติดตัวไปทุกที่ได้
เอาไว้สำหรับเก็บรวบรวมรายชื่อร้านค้า ช่างภาพงานแต่ง ทุกอย่างที่เกี่ยวกับงานแต่ง ข้อมูลติดต่อ และคำถาม-ตอบ ที่คุยกับร้าน
สมุดของโอ เล็กและบางมาก พกติดตัวไม่หนัก
(อันนี้เป็นตัวอย่างค่ะ ของจริงที่โอใช้ใหญ่กว่านี้ค่ะ)
ใส่กระเป๋าหิ้วไปจดเวลาไปคุยกับสตูดิโอ หรือ โรงแรมจัดเลี้ยง
เขียนข้อมูลเกี่ยวกับงานแต่งทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องเป็นสมุดใหม่
เอาสมุดใช้แล้วทีมีหน้าว่างเหลือมาใช้ก็ได้
2. ข้อมูลที่เราจะจดบันทึกในสมุด
ประกอบด้วย อาทิ…
– ชื่อร้าน
– ชื่อเจ้าของร้าน / ชื่อทีมงานที่คุย-ติดต่อด้วย (เวลาช่างติดต่อกลับ เราจะได้เรียกชื่อถูก ไม่ลืม เพราะบางทีติดต่อหลายร้านแล้วจำชื่อไม่ได้ ช่วยป้องกันการเรียกชื่อผิดสลับร้าน อิอิ ^^”)
– เบอร์โทรติดต่อ (เม็มไว้ในมือถือด้วย ใส่ชื่อทีมงาน & ชื่อร้านเช่นกัน เผื่อโทรไปครั้งแรกแล้วทางร้านไม่รับ พอโทรกลับมาเราจะได้ไม่งง)
– LINE ติดต่อ
– ชื่อ Fanpage ใน Facebook (ไว้ตามไปส่องดูทีหลัง บางร้านใช้ชื่อไทย บางร้านใช้ชื่ออังกฤษ เราจดไว้กันลืม)
– คำถามที่ต้องการคำตอบ
– NOTE ข้อมูลกันลืม เช่น แฟนเราว่างถ่ายรูปวันไหน , ช่างถ่ายรูปคิวว่างวันไหน จดไว้ จะได้เอาไว้ MATCH กัน
เป็นต้นค่ะ
กรณีที่จดข้อมูล “โรงแรม – สถานที่จัดงานแต่ง” เนื้อหาอาจเปลี่ยนไปค่ะ จะมีรายละเอียดจำพวก บุฟเฟ่ต์ หัวละเท่าไร? , ห้อง A จำนวนแขกขั้นต่ำเท่าไร เป็นต้น ไว้จะเขียนให้ดูเป็นตัวอย่างในบทความต่อๆไปค่ะ
3. ว่าด้วยเรื่อง “คำถาม” & “คำตอบ”
เขียนคำถาม และเว้นพื้นที่สำหรับ NOTE คำตอบไว้ระหว่างโทรคุย เพื่อใช้ตัดสินใจในอนาคต เช่น…
– ช่างภาพว่างถ่าย Pre-Wedding วันไหนบ้าง?
– สถานที่ถ่ายพรีเวดดิ้งแนะนำ (ที่ช่างแนะนำ)
– เข้าไปคุยที่ร้าน/studio ได้ในวันไหน? (ร้านสะดวกวันไหน / เราสะดวกวันไหน ตรงกันวันไหนบ้าง)
– วันที่แฟนเราว่าง/ตัวเราว่าง
– ราคา
– พื้นที่สำหรับจดโน้ต “อื่นๆ”
เป็นต้นค่ะ
Facebook: คู่มือจัดงานแต่งงาน by OPONG
– บอกก่อน เสริมไว้นิด ของโอ โอจะเน้นโทรคุย มากกว่า LINE / INBOX Facebook ไปสอบถามนะคะ เพราะรู้สึกว่าถ้าโทรคุยจะได้คำตอบเร็วกว่า ชัดเจน ไม่เข้าใจอะไรก็ถามได้เลยทันที แล้วพอได้คุยด้วยเสียงแล้ว ทำความรู้จักแล้ว ต่อไปหากมีคำถามเล็กๆน้อยๆ หรือ คำถามที่รายละเอียดยาวๆ เช่น แผนที่ร้าน, ข้อมูลใบเสนอราคา , รายละเอียดอื่นๆ อาจจะ Line – หรือโทรบอกให้ช่วยส่งทาง EMAIL เป็นครั้งๆไปค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าติดต่อใคร ติดต่อหัวข้ออะไร (เรื่องด่วนจะโทร เรื่องไม่ด่วนจะ LINE เรื่องส่งรายละเอียดจะโทรบอกให้ช่วยส่ง EMAIL)
– ช่างกล้อง หรือ เจ้าของร้านจัดดอกไม้บางท่าน อาจจะเป็นคนคุมงานเอง ถ่ายรูปเอง หรือ จัดดอกไม้เอง และไปดูงานจัดงานในสถานที่จริงด้วยตัวเอง ดังนั้น มันแปลว่า บางช่วงที่เรา LINE ไป ทางร้านอาจจะไม่ได้ตอบกลับมาทันที … โอสังเกตสิ่งนี้จากตอนที่ไปดูโรงแรมหาสถานที่จัดงาน ตอนนั้นไปที่สโมสรกองทัพบกวิภาวดีค่ะ บังเอิญเจอช่างจัดดอกไม้กำลังจัดดอกไม้ BACKDROP กันอยู่ เลยสอบถาม ปรากฏว่าเจอเจ้าของร้านมาคุมงานมาจัดเองเลย เลยเข้าใจว่า บางที LINE ไป อาจจะตอบช้าหรืออาจจะไม่ตอบ เพราะมาคุมงานด้วยตัวเองอยู่นั่นเอง โทรไปอาจจะได้รับการตอบกลับเร็วกว่า LINE ค่ะ … โทรไป 1-2 ครั้ง ไม่รับ เดี๋ยวว่างก็คงโทรกลับมาค่ะ อย่าลืมเม็มเบอร์ไว้นะคะ ^^
– จากข้อด้านบน… ช่างภาพงานแต่งก็ (อาจจะ) เช่นเดียวกัน … ยกตัวอย่างเช่นร้าน Picgy Studio ที่โอไปถ่ายรูปด้วย เจ้าของร้านถ่ายรูปเองค่ะ
– หากเป็นร้านชุดเจ้าสาว บางทีทางร้านมีเซลล์ดูแลออฟฟิส/หน้าร้านอยู่ กรณีนี้อาจจะแตกต่างกับตากล้องหรือช่างจัดดอกไม้บางร้าน ที่ไปคุมงานเองรับโทรศัพท์เอง ร้านชุดเจ้าสาวบางร้านมีทีมงานคอยตอบ LINE – รับโทรศัพท์โดยเฉพาะค่ะ ไม่ต้องออกสนาม
[shortcode-variables slug=”ad336-2″]
– ช่วงเทศกาลแต่งงาน คือช่วงปลายปี งานแต่งเยอะมาก คนมักจะแต่งกันในวันเสาร์-อาทิตย์ ฉะนั้น ว่าที่บ่าวสาวคู่ใดยังไม่แต่ง แต่กำลังเตรียมตัวจะแต่ง หากต้องการสอบถามข้อมูล โอแนะนำให้โทรหาร้านวันธรรมดา ในเวลาทำการ เพราะถ้าดวงเฮง เจอร้านที่เจ้าของร้านไปถ่ายรูปเอง คุมงานเอง แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้คุยกัน เพราะติดงานอีกงานอยู่ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่ควรโทรวันเสาร์-อาทิตย์ อันนี้แล้วแต่เวลาทำการของแต่ละร้าน โอเพียงบอกไว้ เพื่อรู้เขารู้เรา เราก็สบายใจติดต่อถูกเวลาได้คุยละเอียดทีเดียวเลยเนาะ ^^
– การจดมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะกับเจ้าสาวที่เตรียมงานคนเดียว เนื่องด้วยแฟนไม่ว่าง เพราะว่าการจดข้อมูลเหล่านี้ สามารถช่วยให้เจ้าสาวเอาข้อมูลมาคุย-ปรึกษาหารือกับแฟนได้ง่ายขึ้น จำข้อมูลได้ทั้งหมด คุยกับร้านที่ติดต่อได้สะดวกขึ้น อธิบายแฟนและครอบครัวได้เวลามีคนถาม (เตรียมงานแต่ง..บางทีครอบครัวเรา ครอบครัวสามี ก็อยากรู้ความคืบหน้า)
– ของโอตอนนั้นมีเวลาเตรียมงานน้อยนิด บางร้านที่ชอบก็คิวเต็ม การจดทำให้โอแยกและคัดกรองร้านได้ง่ายขึ้นมาก โอกลับมาเปิดดูข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลได้ตลอด ร้านไหนคิวเต็มแล้วก็ขีดฆ่าชื่อออก จะได้ไม่สับสน ไปโฟกัสร้านอื่นที่คิวว่างแทน
Sponsor Ads – BVLO ชุด Pre-Wedding ชุดออกงาน ชุดเดรส เสื้อผ้าแฟชั่น