ประเพณีการแต่งงานล้านนา แบบภาคเหนือ งดงามอ่อนช้อย เป็นสิริมงคล

พิธีแต่งงานแบบล้านนา

ประเพณีการแต่งงานล้านนา แบบภาคเหนือ งดงามอ่อนช้อย เป็นสิริมงคล

พิธีการแต่งงานของชาวล้านนาส่วนใหญ่จะอบอวลไปด้วยความนุ่มนวลอ่อนหวานทั้งข้างของเครื่องใช้ การแต่งกายและรายละเอียดต่าง ๆในพิธีที่อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และบางพิธีอาจมีการลดพิธีบางอย่างลงไปเพื่อให้งานสะดวกขึ้น ในบทความนี้ WeddingReview นำขั้นตอน ลำดับพิธีการแต่งงาน แบบล้านนา มาฝากทุกท่านค่ะ

ลำดับพิธีแต่งงานแบบล้านนา

1. แห่ขันหมาก แบบล้านนา

พิธีแห่ขันหมากของภาคเหนือนั้นอาจมีแตกต่างจากคนไทยภาคกลางอยู่บ้างนิดหน่อยตรงที่เจ้าบ่าวต้องถือดาบและหีบ

  • โดยพิธีแห่ขันหมากของคนภาคเหนือเจ้าบ่าวพร้อมญาติผู้ใหญ่จะตั้งขบวนเพื่อแห่ไปบ้านเจ้าสาว โดยเจ้าบ่าวจะถือดาบและหีบ
  • ส่วนญาติๆจะถือของที่เตรียมมาและมีขบวนแห่ดนตรีพื้นเมืองสนุกสนานและเมื่อขบวนขันหมากแห่มาจนถึงบ้านเจ้าสาว
  • เจ้าบ่าวก็ต้องผ่านค่ายประตูเงินประตูทองและเจ้าบ่าวต้องมอบเงินค่าน้ำนมให้กับแม่ของเจ้าสาวเพื่อตอบแทนที่เลี่ยงเจ้าสาวมา จากนั้นก็ไปรับเจ้าสาวที่อยู่ในห้อง และหลังจากนั้นก็เข้าสู่ พิธีฮ้องขวัญ
ประเพณีการแต่งงานล้านนา แบบภาคเหนือ งดงามอ่อนช้อย เป็นสิริมงคล
ประเพณีการแต่งงานล้านนา แบบภาคเหนือ งดงามอ่อนช้อย เป็นสิริมงคล

2. พิธีบายศรีสู่ขวัญ ภาคเหนือ

  1. พิธีบายศรีสู่ขวัญของภาคเหนือจะเรียกว่าพิธีฮ้องขวัญ ซึ่งคนเหนือนิยมทำบายศรีในสลุง (ขันเงิน) มีพานรองรับอีกชั้นหนึ่งในสลุงจะมีข้าวปั้น กล้วย 1 ใบ ไข่ต้ม 1 ลูก ดอกไม้ธูปเทียนและด้ายขาวสำหรับผูกข้อมือ
  2. พิธีนี้จะให้เจ้าบ่าวนั่งทางขวาเจ้าสาวนั่งทางซ้ายวางพานบายศรีไว้ตรงกลางจากนั้นเจ้าบ่าวก็เอาทองที่เป็นแหวนหรือสร้อยสวมให้กับเจ้าสาว
  3. จากนั้นก็ให้ปู่จ๋าน ทำพิธีเรียกขวัญให้กับคู่บ่าวสาวด้วยสำนวนโวหารแบบโบราณที่ไพเราะนุ่มนวลและน่าฟัง ซึ่งสวดประมาณ 10-15 นาทีก็จบ
  4. จากนั้นปู่จ๋านก็จะผูกข้อมือโดยผูกจากข้างซ้ายก่อนแล้วตามด้วยมือขวา
  5. เมื่อปู่จ๋านทำพิธีเรียกขวัญเสร็จญาติผู้ใหญ่ของทางเจ้าบ่าวเจ้าสาวและแขกเหรื่อในงานก็พากันมาผูกข้อมืออวยพรให้กับคู่บ่าวสาว

3. การผูกข้อมือบ่าวสาว ภาคเหนือ

การผูกข้อมือบ่าวสาวของภาคเหนือนั้นจะใช้ผ้าไหมหรือฝ้ายดิบโดยเจ้าสาวจะผูกที่ข้อมือซ้ายและเจ้าบ่าวจะผูกที่ข้อมือขวา ระหว่างที่ผูกข้อมือก็จะนิยมกล่าวคำอวยพรและมอบเงินใส่ซองให้กับคู่บ่าวสาวลงในขันสลุง หรือขันใบใหญ่สีเงินข้างในจะวางดอกไม้หอมๆเอาไว้ด้วย

4. พิธีส่งตัวบ่าวสาวเข้าหอ

เมื่อเสร็จพิธีก็จะส่งตัวบ่าวสาวเข้าหอ แต่บางพิธีก็จะมีการสืบชะตาโดยใช้เสาไม้ 3 ต้นค้ำกันไว้แล้วผูกสายสิญจน์ผูกที่เสาทั้งสาม จากนั้นโยงมาสวมบนศีรษะของผู้ที่มาร่วมงาน หลังจากนั้นจึงทำการส่งตัวบ่าวสาวเข้าห้องหอ โดยให้พ่อแม่ของคู่บ่าวสาวจูงบ่าวสาวเข้าไปในห้องและนำบายศรีกับขันสลุงที่ใส่เงินเข้าไปด้วย

  • ภายในห้องจะมีการปูผ้าเตียงใหม่และโรยดอกไม้เอาไว้ ส่วนใหญ่นิยมดอกกุหลาบสีแดง
  • ก่อนที่บ่าวสาวจะล้มตัวลงนอนให้ผู้ใหญ่ที่ชีวิตแต่งงานมีความสุขอยู่กินผัวเดียวเมียเดียวมานอน เพื่อเอาเคล็ด หรือ เพื่อความเป็นสิริมงคล
  • ผู้ใหญ่อวยพรคู่บ่าวสาวและปล่อยบ่าวสาวให้อยู่ในห้องหอด้วยกัน

การแต่งงานแบบภาคเหนือในสมัยก่อนจะมีการรดน้ำสังข์ด้วย แต่ปัจจุบันถูกลดออกไป เพราะเอารวมเข้ากับพิธีผูกข้อมือ เพื่อให้พิธีสะดวกและรวดเร็วขึ้น การแต่งงานแบบภาคเหนือจะแตกต่างจากการแต่งงานแบบอีสานอย่างชัดเจนเนื่องจากพิธีกรรมหลาย ๆ อย่างไม่เหมือนกัน แต่สิ่งเดียวที่เหมือนกันก็คือ การร่วมแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานให้กับคู่บ่าวสาวให้ครองรักกันอย่างมีความสุข … นอกจากลำดับพิธีแต่งงานแบบล้านนาแล้ว WeddingReview ยังมีบทความแนะนำเกี่ยวกับ “ลำดับพิธีแต่งงาน” พิธีหมั้น และการเตรียมงานแต่งงานมาฝากทุกท่าน สามารถติดตามได้ที่นี่เลยค่ะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

Report

What do you think?

0 Points
Upvote
เจาะลึกชีวิตแม่บ้าน! ในสายตาคนอื่น VS ในความเป็นจริง

เจาะลึกชีวิตแม่บ้าน! ในสายตาคนอื่น VS ในความเป็นจริง

10 สถานที่จัดงานแต่งงานยอดฮิตฝั่งธน และรอบ ๆ

10 สถานที่จัดงานแต่งงานยอดฮิตฝั่งธน และรอบ ๆ