จัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย จัดอย่างไรให้เรียบแต่ครบ จบ ประทับใจ

ไอเดียและตัวอย่างลำดับการจัด พิธีหมั้นแบบเรียบง่าย

จัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย จัดอย่างไรให้เรียบแต่ครบ จบ ประทับใจ

คู่บ่าวสาวสมัยใหม่หลายคู่มักเลือกจัด พิธีหมั้นแบบเรียบง่าย

เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคู่บ่าวสาวที่ถือฤกษ์สะดวก ด้วยการจัดงานหมั้นแค่ในช่วงเช้า ซึ่งส่วนใหญ่ จะเชิญแขกเฉพาะญาติสนิทและเพื่อนสนิทมาร่วมงาน

เรามีข้อมูลการจัดพิธีหมั้นแบบเรียบง่ายมาฝากเพื่อน ๆ ที่ WeddingReview.net ส่วนจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

จัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย จัดอย่างไรให้เรียบแต่ครบ จบ ประทับใจ

จัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย

การจัด ‘พิธีหมั้น’ ตามประเพณีไทย หมายถึง การมอบของหมั้น เพื่อเป็นการจับจองและเป็นประกันสัญญาว่าจะแต่งงานกัน ดังนั้น ในการจัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย จะไม่มีการยกหรือแห่ขบวนขันหมาก หรือ รดน้ำสังข์แต่อย่างใด มักทำเพียงแค่เตรียมเชี่ยนหมาก พลู สำหรับไหว้ญาติผู้ใหญ่ เตรียมของหมั้นตามที่ได้ตกลงมาในพิธีสู่ขอ เพียงเท่านี้ หรือ อาจะมีการเตรียมพานขันหมากและบริวาลมาตั้งสู่ขอก็ได้เช่นกัน แล้วแต่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลง

การจัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย มักทำโดยตัดพิธีรีตรองและการแห่ขบวนต่าง ๆ ออก เพื่อความเรียบง่าย สะดวก และ เป็นกันเอง สำหรับคนกันเองค่ะ

จัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย จัดอย่างไรให้เรียบแต่ครบ จบ ประทับใจ

ลำดับพิธีงานหมั้น แบบเรียบง่าย

  1. มอบขันหมากหมั้นหมาย – เมื่อได้เวลาฤกษ์ ฝ่ายชาย ซึ่งเป็นผู้จัดเตรียมขันหมากหมั้นหมายสำหรับทำการหมั้นหมายฝ่ายหญิง นำโดยเฒ่าแก่ฝ่ายชาย นำขันหมากหมั้นหมายไปมอบให้กับเฒ่าแก่ของฝ่ายหญิง สำหรับตัวเฒ่าแก่ฝ่ายชายในพิธีหมั้นหมาย มักเป็นคนเดียวกับเฒ่าแก่ผู้ทำหน้าที่เจรจาสู่ขอฝ่ายหญิง
  2. เฒ่าแก่เจรจาสู่ขอ – ในขั้นตอนสู่ขอ เป็นลำดับขั้นตอนที่ให้เฒ่าแก่ของฝ่ายชายพูดคุยสู่ขอ ซึ่งคุณสมบัติของเฒ่าแก่สู่ขอก็คือ ควรเป็นคู่สามีภรรยาที่ไม่เคยมีประวัติหย่าร้าง ถือเป็นเคล็ดและนิมิตรหมายอันดีว่า ให้มีชีวิตคู่ที่มีความสุข อยู่กันจนแก่เฒ่า อย่างไรก็ตาม ในบางท้องถิ่น คู่บ่าวสาวอาจให้มีเฒ่าแก่มาสู่ขอเพียงคนเดียวก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมาเป็นคู่ แต่ต้องเป็นคนที่แต่งงานแล้ว ไม่มีประวัติหย่าร้างเช่นกัน อยู่กินกันมาเป็นระยะเวลานาน ชีวิตคู่มีความสุข เป็นที่เคารพนับถือของบุคคลอื่น เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่คู่บ่าวสาว
  3. พิธีแลกแหวนหมั้น และของหมั้น – ขั้นตอนต่อไป คือ การแลกแหวนหมั้นและมอบสินสอดหมั้น โดยมอบให้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ก็เป็นอันเสร็จพิธีหมั้น ซึ่งหลังจากนี้อาจจะมีเลี้ยงหาอาหารสำหรับแขกและญาติที่เข้ามาร่วมงาน เพื่อเป็นการขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน

เสร็จพิธีหมั้นแล้ว นับว่าคู่บ่าวสาวได้จัดพิธีแต่งงานแบบไทยเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสำคัญอีกอย่างที่จะแสดงว่าเป็นคู่สามีที่ถูกต้องตามกฏหมาย ก็คือ การจดทะเบียนสมรส ค่ะ

จัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย จัดอย่างไรให้เรียบแต่ครบ จบ ประทับใจ

ขันหมากหมั้น มีอะไรบ้าง

การจัดขันหมากหมั้น มีพานเงิน พานทอง พานสินสอด ตามที่ได้ตกลงกับทางฝ่ายหญิงไว้ และยังมีพานขันหมาก เอก ประกอบด้วย

  • หมากดิบ 8 ลูก 
  • พลู 8 เรียง 
  • ถั่วเขียว 1 ถุง 
  • ข้าวเปลือก 1 ถุง
  • งาดำ 1 ถุง
  • ข้าวตอก 1 ถุง
  • ใบเงิน, ใบทอง และใบนาก

โดยขันหมากหมั้นโดยส่วนใหญ่แล้ว จะไม่มีขันหมากโท เช่น ไม่มีขนม ต้นกล้วย ต้นอ้อย เป็นต้น

และการ ‘จัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย‘ มักไม่มีการกั้นประตู ไม่มีการนับขันหมากและนับเงินสินสอด เรียกง่าย ๆ ได้ว่า ตัดพิธีการและพิธีรีตรองออกไป คงเหลือไว้เฉพาะพิธีอันดีงาม คงไว้ซึ่งฤกษ์ตามเวลามงคล ตามที่ทั้งสองฝ่ายสะดวก

จัดงานหมั้นแบบเรียบง่าย จัดอย่างไรให้เรียบแต่ครบ จบ ประทับใจ

ถือเป็นขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเลย สำหรับขั้นตอนพิธีหมั้นแบบเรียบง่ายที่เรานำมาฝากกันวันนี้ คู่หนุ่มสาวที่กำลังวางแผนจัดพิธีหมั้นกันอยู่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กันนะคะ

บทความที่คุณอาจสนใจ

Report

What do you think?

1 Point
Upvote

เขียน ‘รีวิวแต่งงาน’ ส่งรีวิวจัดงานแต่งงาน

จดทะเบียนสมรส ใช้อะไรบ้าง วิธีจดทะเบียนสมรส เป็นอย่างไรมาดูกัน

จดทะเบียนสมรส ใช้อะไรบ้าง วิธีจดทะเบียนสมรส เป็นอย่างไรมาดูกัน